ความยาวโฟกัส :35 มม.
ISO : 200
Shutter speed : 1/160 S
2. Aperture : f/4.5
ISO : 250
Shutter speed : 1/160 S จากภาพ ภาพที่ 1 กล้องอยู่ห่างจากวัตถุมากกว่า สามารถเห็นความคมชัดได้ทั้งฉากหน้าและฉากหลัง ส่วนภาพที่ 2 ที่มีระยะห่างที่น้อยกว่า ทำให้เราสามารถเห็นความคมชัดได้เพียงแค่บริเวณวัตถุ ฉากหลังจะพร่ามัว
3.Mode M ปรับค่าความยาวโฟกัสของเลนส์มากที่สุด และต่ำที่สุด โดยใช้ F เท่ากันทั้ง 2 ภาพ |
1.ความยาวโฟกัส 18 มม. (ไกลวัตถุ)
Aperture : f8.0
ISO : 1000
Shutter speed : 1/500 s
2.ความยาวโฟกัส : 55 มม.(ใกล้วัตถุ)
Aperture : f8.0
ISO : 1600
Shutter speed : 1/500 s
จากการเปรียบเทียบภาพทั้ง 2 ภาพ ที่ถ่ายด้วยเลนส์ 18 มม. กับภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ 55 มม. โดยขนาดรูรับแสงและระยะห่างของกล้องเท่ากัน จะทำให้ภาพที่ถ่ายจากเลนส์ 18 มม. มีระยะความชัดลึกที่มากกว่า ภาพจากระยะเลนส์ 55 มม.
บทสรุป
1.ขนาดรูรับแสงมีขนาดเล็ก สามารถสร้างภาพที่มีความชัดลึกได้ - ขนาดรูรับแสงมีขนาดใหญ่ สามารถสร้างภาพชัดตื้นได้(ความยาวโฟกัสและระยะภาพคงที่)
2.ภาพที่ระยะห่างของกล้องไกลจากวัตถุ ทำให้เกิดภาพชัดลึก - ภาพที่ระยะห่างของกล้องใกล้กับวัตถุ ทำให้เกิดภาพชัดตื้น
3.เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้น ทำให้เกิดภาพชัดลึก - เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสยาว ทำให้เกิดภาพชัดตื้น
4.ขนาดของรูรับแสง ระยะห่างระหว่างวัตถุกับกล้อง และความยาวโฟกัส มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันในการสร้างภาพ ให้มีความชัดลึกหรือชัดตื้น รวมถึงการควบคุมปริมาณแสงให้เข้าในกล้องซึ่งมีผลต่อการสร้างภาพชัดลึก-ชัดตื้นเป็นอย่างมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น