วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

ตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นจากการเรียนวิชาการถ่ายภาพฯ

ตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นจากการเรียนวิชาการถ่ายภาพเพื่อการสื่อสารทางการศึกษา
(สมุดแดง)


1.กระบวณการการสอนT1-T6 ช่วยพัฒนาการคิดของเราได้อย่างไร และชอบวิธีใดมากที่สุด

----ในการถ่ายภาพทุกครั้ง ทำให้เราต้องคำนึงถึงองค์ประกอบศิลป์ของภาพและการจัดวางตำแหน่งของวัตถุภายในภาพ จุดสนใจ ความสมดุลต่างๆ เป็นเรื่องที่สำคัญและควรคำนึง เราได้พํฒนาในส่วนนี้แล้วจึงผลิตภาพที่มีความเหมาะสมด้านองค์ประกอบออกมา
     ต่อมาเป็นด้านของการคำนึงถึงแสงและสีของภาพ การพัฒนาทางด้านความคิดสร้างสรรค์ในส่วนนี้ทำให้ภาพของของเรามีแสงและสีที่ตรงตามความต้องการ ดูเป็นธรรมชาติ สื่ออารมณ์ สื่อความหมาย แสดงความคิดและมุมมองของผู้ถ่ายภาพ
     ส่วนที่ได้รับการพัฒนาต่อมาคือในส่วนของการถ่ายภาพอย่างไรให้เกิดการสื่อความหมาย กล่าวคือไม่ใช่เพียงการถ่ายภาพตามใจฉัน แต่เป็นการถ่ายภาพที่แฝงความคิดและมุมมองของช่างภาพ และเพื่อถ่ายทอดออกมา คนที่ดูภาพของเราก็จะต้องเข้าใจในสิ่งที่เราจะสื่อสารออกไปเช่นกัน  โดยสรุปคือได้พัฒนาความคิดในการสร้างสรรค์ภาพที่มีความสวยงามทางศิลปะ มีองค์ประกอบภาพ แสงสีที่สวยงามเหมาะสม และภาพสามารถสื่ออารมณ์และความหมายที่ชัดเจน
     หากจะให้เลือกว่าชอบวิธีไหนมากที่สุด ขอเลือกเป็นวิธี Direct Analogy เพราะเป็นวิธีที่ดึงเอาความคิดของเราที่มีต่อโจทย์ออกมาสร้างสรรค์ภาพได้อย่างตรงไปตรงมา สื่อสารออกมาให้ผู้ชมเข้าใจง่าย การสื่อความหมายไม่ยุ่งยากซับซ้อน ได้ใช้กระบวนการคิดและแจกแจงความคิดก่อนหยิบจุดที่ดีที่สุดออกมาใส่ในภาพ

2.เมื่อมีเพื่อนมากดLikeเราในFacebook รู้สึกอย่างไร 
----รู็สึกดีใจที่เพื่อนๆให้ความสนใจและชอบภาพของเรา จนภาพของเราได้เป็นภาพcoverประจำสัปดาห์ แม้ว่าภาพของเราจะไม่ใช่ภาพที่ดีที่สุด ไม่ใช่ภาพที่ได้คะแนนเยอะที่สุด แต่การที่เพื่อนมากดไลค์ให้ถือเป็นกำลังใจในการถ่ายภาพให้ดีต่อไป

3.การที่ผู้สอนมีFeedback ตอบกลับไป รู้สึกอย่างไร และคิดว่าตอนนี้จุดอ่อนของเราอยู่ที่อะไร
----ทำให้มองเห็นว่าบางครั้งภาพที่เราถ่ายออกมา เมื่อมองแล้วอาจจะยังไม่สื่อความหมายของตัวภาพนั้นๆเท่าที่ควร หรือบางครั้งการใส่คำบรรยายภาพที่ดูคิดมากเกินไปทำให้ภาพยิ่งเข้าใจยาก เมื่อผู้สอนมีFeedbackกลับมาจึงทำให้เรารู้สึกถึงจุดด้อยในผลงาน ว่าในแต่ละสัปดาห์สาเหตุใดที่ทำให้ภาพของเรายังไม่ดีเท่าที่ควร จุดด้อยที่มีตอนนี้คือในด้านความคิดสร้างสรรค์ เพราะบางครั้งภาพที่เราคิดกลับไม่สามารถผลิตออกมาเป็นภาพได้ การแต่งรูปภาพบางครั้งแต่งมากเกินไปจนดูไม่เป็นธรรมชาติ ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนเป็นของตนเอง

4.เมื่อรู้จุดอ่อนจะพัฒนาตนเองอย่างไร
-หมั่นฝึกฝนการถ่ายภาพ อาจจะเป็นเวลาไปท่องเที่ยวกับครอบครัวหรือเพื่อน
-ลองศึกษาจากภาพของมืออาชีพทั้งไทยและต่างประเทศ
-ศึกษาเทคนิกการถ่ายภาพเพิ่มเติม
-ให้เพื่อนดูและวิจารณ์ภาพที่เราถ่าย หรือลงทางSocial media เพื่อให้เพื่อนๆช่วยแสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู็จากการจัดนิทรรศการภาพถ่าย The Other Sides

บันทึกการเรียนรู็จากการจัดนิทรรศการภาพถ่าย 
The Other Sides

     จากการจัดนิทรรศการภาพถ่าย ในหัวข้อ The Other Sides รหว่างวันที่ 20-24 เมษายน พ.ศ. 2558  ณ บริเวณใต้อาคาร 2 อาคารพระมิ่งขวัญการศึกษาไทย ทำให้ดิฉันในฐานะหนึ่งในผู้จัดและดำเนินงาน มีความรู้สึกตื่นเต้นและภูมิใจในผลงานของต้นเองเป็นอย่างมาก 
     
การจัดนิทรรศการในครั้งนี้ถือเป็นประสบการณ์การทำงานที่แปลกใหม่และหาไม่ได้ง่ายๆในชีวิตการเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แม้กิจกรรมดังกล่าวที่จัดขึ้นจะเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องในเรื่องของคะแนนในชั้นเรียนในวิชาการถ่ายภาพเพื่อการสื่อสารทางการศึกษาแต่อย่างใด แต่ทุกๆคนรวมถึงตัวดิฉันเองก็ได้ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ ทำให้การทำงานครั้งนี้ เป็นการทำงานที่ทำให้เราได้เห็นศักยภาพของเพื่อนและการนำศักยภาพของตนเองออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
      
การทำงานทุกๆอย่างย่อมไม่ราบรื่นเสมอไป ยิ่งเป็นงานแรกๆที่ผู้จัดยังไม่มีประสบการณ์แล้วการแก้ปัญหาถือเป็นเรื่องที่ยากจะหลีกเลี่ยง ในบางครั้งเราอาจไม่สามารถทำงานได้ตามที่เราวางแผนไว้ หรือแม้แต่การพบเจอกับปัญหาที่เราไม่คาดคิด จากการทำงานและการจัดนิทรรศการเป็นเวลา1สัปดาห์ ทำให้ดิฉันได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆ และได้รับฟังคำแนะนำจากท่านอาจารย์และผู้ที่มาเยี่ยมชมนิทรรศการหลายท่าน จึงอยากนำปัญหาที่พบและคำแนะนำต่างๆมาแนะนำให้กับน้องๆที่จะต้องจัดนิทรรศการภาพถ่ายในปีถัดๆไปคะ
     
     เรื่องแรกเป็นเรื่องที่สำคัญมาก คือเรื่องการจัดการเวลาคะ หากน้องๆจะต้องจัดนิทรรศการ น้องๆควรวางแผนการเรียน การทำงาน และการถ่ายภาพให้ดี น้องๆต้องรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่าเรามีภาระในการหาภาพอยู่ ดังนั้นเวลาไปเดินเที่ยวที่ไหน ไปกับครอบครัวหรือกับเพื่อน น้องๆลองพกกล้องถ่ายภาพติดตัวไปด้วยคะ ในทุกๆที่ย่อมมีมุมที่น่าสนใจและน่าจะถ่ายเก็บไว้เพื่อเอามาเป็นสต็อกในการเลือกภาพถ่ายมาใช้ในโอกาสต่างๆได้คะ แต่หากเป็นภาพนิทรรศการ การศึกษาหัวข้อของนิทรรศการให้เข้าใจจะช่วยให้น้องๆมองหามุมในการถ่ายภาพได้ง่ายขึ้นคะ หากน้องๆได้ภาพเร็ว การคัดเลือกรูปภาพก็จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว ยังพอมีเวลาที่เราจะสามารถแก้ไขรูปภาพ รับคำแนะนำจากอาจารย์และเพื่อนๆได้ การทำงานต่างๆก็จะเป็นไปแผนการที่วางไว้

      เรื่องต่อมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการติดต่อกับฝ่ายต่างๆคะ อย่างเช่นในเรื่องของสถานที่และบอร์ด เราควรติดต่อล่วงหน้า และเช็คตารางให้แน่นอนว่าจะไม่ทับซ้อนกับกิจกรรมอื่นๆ บอร์ดที่จะใช้จัดจะมีเพียงพอในวันที่เราต้องการจะใช้ เป็นต้น รวมถึงเรื่องของจดหมายต่างๆคะ หากต้องการส่งจดหมายเพื่อแจ้งให้ทราบ เช่น ต้องการเลื่อนวันจัดนิทรรศการ ควรดำเนินการล่วงหน้า ไม่ควรดำเนินการกระชั้นชิดมากเกินไปคะ

      เรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องการประชาสัมพันธ์คะ สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ หากเราประชาสัมพันธ์ได้ดี มีความทั่วถึงและมีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้าสักระยะเวลา จะมีผลต่อจำนวนผู้เข้าชมนิทรรศการเป็นอย่างมากคะ ยิ่งเป็นคนที่สนใจในการถ่ายภาพแล้วจะยิ่งอยากมาชมนิทรรศการคะ หากมีcontactกับพี่ๆชมรมโฟโต้ หรือผู้ที่สนใจด้านการถ่ายภาพ ก็ลองขอให้เขาช่วยประชาสัมพันธ์ให้ดูคะ


    มีส่วนที่อยากเพิ่มเติมอีกนิดจะคำแนะนนำของผู้เข้าชมคะ
1.ภาพบางภาพถ่ายออกมาได้สวยมาก ผู้เข้าชมจึงอยากรู้ว่าถ่ายมาจากที่ไหน จึงอยากได้ข้อมูลสถานที่
2.อยากได้คำอธิบายภาพเป็นภาษาอังกฤษ
3.อยากรู้ชนิดของเลนส์ที่ใช้ถ่าย
4.ระมัดระวังการพิมพ์คำอธิบายภาพผิดหรือตกหล่นหรือคำอธิบายที่วกไปวนมาไม่เข้าใจ

สุดท้ายนี้ อยากบอกว่าดีใจมากที่ครั้งหนึ่ง เราเคยได้ทำนิทรรศการภาพถ่ายเป็นของเราเอง ได้มีภาพของเราอยู่ในนั้น มีคนมาชื้นชมภาพถ่ายของเรา เป็นความภาคภูมิใจของผู้จัดจริงๆคะ